Control Chart ใช้ง่ายได้ประโยชน์
Control Chart ใช้ง่ายได้ประโยชน์
ปัจจุบันการ ดําเนินการพัฒนาคุณภาพในหน่วยงาน จําเป็นต้องมีการใช้สถิติในการควบคุมกระบวนการให้ทราบผลการดําเนินงาน เพื่อตรวจสอบกระบวนการทำงานวิเคราะห์/ทดสอบให้มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ โดยอันดับแรกหน่วยงานควรรู้ว่าต้องการวัดอะไร? วัดอย่างไร? และวิเคราะห์อย่างไร? สิ่งสําคัญของคุณภาพของข้อมูลที่จะต้องคํานึงถึง คือ ความแม่นยํา สมบูรณ์ครบถ้วน และเที่ยงตรง โดยต้องเลือกข้อมูลที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกของกระบวนการ โดยข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงซึ่งจะไม่สามารถนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจได้โดยตรง ต้องเป็นสารสนเทศ (Information) ซึ่งหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว แสดงรายละเอียดมากขึ้น สามารถนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ จะมีการแจกแจงแบบปกติ (Normal distribution) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) หรือ Sigma (δ) ที่กําหนดให้ความน่าจะเป็นที่วัดได้อยู่ในช่วง + 3δ (เท่ากับร้อยละ 99.999999) โดยองค์ประกอบของ Control Chart ที่ดีควรมีการกระจายของข้อมูลแบบสุ่มที่สมดุลกันทั้ง 2 ด้าน และจะดียิ่งขึ้นหากจุดต่างๆ กระจายตัวอยู่ใกล้เส้นกลาง (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 รูปแบบของ Shewhart Control Chart; UCL= Upper Control Limit, CL= Central Line, LCL= Lower Control Limit
ความสําคัญของ Control Chart สามารถใช้ตรวจสอบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ โดยอาศัยหลักการทางสถิติ จะนําไปสู่การแปลผล และวางแผนแก้ไขที่ผิดพลาดได้
(Ref.) http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/387_18_5.pdf